วันศุกร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กิกรรมส่งเสริมด้านภาษา


กิจกรรมดอกไม้น้อยร้อยภาษา
การเตรียมตัวในการทำกิจกรรม
1.) เตียมตัวเอง
2.) ทำความรู้จักกับเด็กอย่างเป็นกันเอง
3.) พูดคุยซักถามความคิดของเด็ก
4.) หาวิธีกระตุ้นเด็ก
การจัดเตรียมอุปกรณ์
1.) กระดาษรูปภาพ
2.) สีเทียน/สีไม้
3.) กระดาษ
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1.) เตรียมสื่อ/อุปกรณ์ให้พร้อม
2.) อธิบายการทำกิจกรรม
3.) แจกกระดาษให้เด็กลงมือทำกิจกรรม
4.) ให้เด็กเล่าอธิบายให้ฟัง
5.) บอกความรู้สึก
สรุปผลการจัดกิจกรรม
น้องอุ้มได้ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี ไดพูดคุยกันน้องอุ้มได้มีก่พูดคุยกันอย่างเป็นกันเอง กล้าแสดงออก ช่างพูดช่างคุย และในการทำกิจกรรมก็เป็นไปอย่างเรียบร้อยและน้องอุ้มสามารถอธิบายและใช้ภาษาได้อย่างชัดเจน

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ทฤษฎีพัฒนาการด้านภาษา

1. ทฤษฎีความพึงพอใจแห่งตน (The Autism Theory หรือ Autistic Theory) ผู้คิดตั้งทฤษฎีนี้คือ โอ โฮบาร์ท โมว์เรอร์ (O.Hobart Mowrer ) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา ชาวอเมริกันเขาให้ชื่อทฤษฎีของเขาว่า Autistic Theory หรือ Autism Theory of Speech Acquisition เขาทดลองการสอนพูดกับนก และพบว่านกจะเลียนเสียงพูดของคนเฉพาะ เสียงหรือคำที่ผู้ฝึกพูดด้วยเวลาที่มันอิ่มหรือลูบไล้ด้วยความรักนอกจากนี้ คำเหล่านี้ยังทำให้นกเพลิดเพลิน และเป็นสุข การที่นกแก้ว นกขุนทอง สามารถทำเสียงต่าง ๆ ได้หลาย ๆ เสียงนี่เอง จึงมีบางเสียงที่คล้ายคลึงกับเสียงที่ใช้ในภาษาพูดของมนุษย์ ที่แสดงออกถึงความชื่นชมยินดี ดังนั้นเมื่อนกได้ยินเสียงที่ตัวมันเองเปล่งออกมาคล้ายคลึงกับเสียงที่นำความปิติมาให้ขณะกินอาหาร หรือถูกลูบไล้ด้วยความรัก มันจึงเลียนเสียงตามไปด้วย การให้รางวัลอย่างเหมาะสมจะทำให้การเลียนเสียงของนกดีขึ้น จนสามารถพูดเป็นคำเป็นประโยคได้ เช่น “แก้วจ๋า กินข้าว” เสียงที่เปล่งออกมาจะเป็นลักษณะของการให้รางวัลแก่ตนเองคำว่า Autism คือการให้รางวัลแก่ตนเองในแง่ของกระบวนการ ที่ทำเขานำหลักการจากทฤษฎีมาใช้กับการเรียนรู้ของเด็ก ในการหัดพูดคำแรก และเชื่อว่าใช้ได้ เช่น แม่พูดคำว่า “แม่” หรือ “ลูก” เป็นพัน ๆ ครั้งขณะป้อนข้าว อาบน้ำ เล่น เห่กล่อมให้ จึงพบว่าบางครั้งเด็กก็เปล่งเสียง “แม่” ขณะเล่นเสียง และยิ่งคำพูดนี้ทำให้เด็กมีความรู้สึกปิติ ปลาบปลื้ม ก็จะยิ่งพูดซ้ำมากกว่าพยางค์หรือคำอื่นที่ไม่มีความหมายให้จดจำเป็นพิเศษ ด้วยวิธีนี้ทำให้เด็กพัฒนาการถ้อยคำที่ใช้ในภาษามากขึ้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรางวัลที่เด็กจะได้รับจากแม่ ส่วนในแง่ของปัญหาด้านความเข้าใจ ซึ่งมักมีผู้สงสัยนั้น ก็อธิบายได้ว่า ความหมายของเด็กอาจเกิดจากการโยงความสัมพันธ์ เช่น เมื่อพูด “แม่” แม่ก็ปรากฏตัว หรือเข้าใจความหมายคำว่า “ลูก” โดยชี้ให้ดูในกระจกทฤษฎีนี้จึงถือว่า การเรียนรู้การพูดของเด็ก เกิดจากการเลียนเสียงอันเนื่องมาจาก ความพึงพอใจที่จะได้ทำเช่นนั้น โมว์เรอร์ (Mowrer) เชื่อว่าความสามารถในการฟัง และ ความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษา
2. ทฤษฎีการเลียนแบบ (The Imitation Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า พัฒนาการทางการพูดนั้นเกิดขึ้นหลายทาง โดยอาศัยการเลียนแบบ ซึ่งอาจเกิดได้จากการมองเห็นหรือการได้ยินเสียง ผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเลียนแบบใน การพัฒนาภาษาอย่างละเอียด คือ เลวิส (Lewis)การเลียนแบบของเด็กเกิดจากความพอใจ และความสนใจของตัวเด็กเอง ปกติช่วง ความสนใจของเด็กนั้นสั้นมาก เพื่อที่จะชดเชยเด็กจึงต้องมีสิ่งเร้าซ้ำๆ กัน จึงทำให้เด็กมักพูดซ้ำ ๆ ในระยะการเล่นเสียง บางครั้งก็ใช้การเคาะโต๊ะ เคาะจังหวะไปด้วย เมื่อศึกษาถึงกระบวนการในการเลียนแบบภาษาพูด ก็พบว่า จุดเริ่มต้นเกิดเมื่อพ่อแม่เลียนแบบเด็กในระยะเล่นเสียง เช่น เด็กบังเอิญพูดย้ำพยางค์ คำว่า “แม่” เมื่อเสียงที่เด็กเปล่งออกมานั้นก่อให้เกิดความสนใจ เด็กก็จะกล่าวซ้ำอีกและเป็นจังหวะเดียวกันกับที่แม่ปรากฏตัวเข้ามา เด็กจึงหยุดพูด แต่แม่อาจไม่สังเกตและอาจพูดกับลูกว่า “แม่หรือคะ” “หาแม่หรือคะ” นี่เองเท่ากับได้ไปเร้าความสนใจของเด็กขึ้นมาใหม่ เด็กก็ปรารถนาจะทำต่อไป อาจเปล่งเสียงคนเดียวซ้ำๆ กันก็ได้ ในขณะที่แม่อาจกระวีกระวาดไปเล่าให้พ่อฟังว่า ลูกเรียกแม่ได้แล้ว เมื่อใดที่เด็กสามารถใช้คำเพื่อการติดต่อได้เหมาะเจาะกับเหตุการณ์ “แม่ มานี่” “แม่ อุ้มหน่อย” จึงจะถือว่าเด็กสามารถพูดคำแรกได้แล้ว ก้าวแรกในการสอนให้เด็กพูด ควรเป็นการเลียนแบบเสียงที่เด็กพูดในระยะการเล่นเสียง และอาจเร้าความสนใจด้วยการตบโต๊ะ เคาะจังหวะ เด็กจะได้หันมามอง การขัดจังหวะก็ควรทำก่อนเด็กจะหยุดกิจกรรม เช่น ขณะเด็กกำลังพูด ป้อป้อ ป้อซ้ำๆ พ่อแม่ก็เข้ามาขัดจังหวะทันทีที่เด็กพูด ป้อคำแรก ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะที่เด็กพึงพอใจมากที่สุด และจะทำให้เด็กสนใจพูดต่อได้นานและดังกว่าเดิม ในระยะแรกก็ทำเพียง 2-3 เสียง แล้วทำให้เรียนรู้ความหมายไปด้วย เช่น เมื่อเด็กพูดคำว่า “แม่” หรือ “พ่อ” แม่หรือพ่อก็ควรเข้ามาปรากฏตัวและเมื่ออุ้มลูกขึ้นก็ควรพูดไปด้วย หัดให้ใช้คำนั้นในสถานการณ์ต่าง ๆ ผลสุดท้ายเด็กจะโยงความเข้าใจจากเสียงไปยังบุคคลและเข้าใจในความหมายได้เด็กควรได้รับการฝึก จนกระทั่งมีคำตอบที่คงที่มีความหมายอยากพูดซ้ำๆ เมื่อพ่อแม่มาพูดหยอกเล่นด้วย ขณะที่เล่นเสียง พ่อแม่ควรใช้ระยะเงียบมาช่วยฝึกด้วย เช่น ช่วงว่างระหว่าง การทำเสียงอ้อแอ้ เด็กจะหยุดเงียบแม่อาจเร้าความสนใจเด็กใหม่โดยเร้าให้พูด “แม่ๆ” ถ้าเด็กตอบสนองด้วยการเลียนแบบก็ควรให้ฝึกต่อไป ขั้นถัดไปคือ การหัดพูดเป็นคำ ในการฝึกทั้งสองขั้นนี้ พ่อแม่จำต้องเลือกเวลาที่เหมาะสมแล้วจะพบว่าเด็กใช้คำได้เหมาะเจาะกับเหตุการณ์ หรือท่าทาง อาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า การหัดพูดครั้งแรกของเด็กได้มาโดยวิธีการของความสม่ำเสมอ ปกติเด็กคุ้นกับเสียง และท่าทางก่อนแล้ว เช่น “สวัสดี” “ไม่” หรือ “แม่” เด็กรู้จักคำมาก่อนนานแล้วเพียงแต่คอยความสม่ำเสมอ หรือ ความคงที่ของความหมายจากผู้ใหญ่ ท่าทางเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้เด็กพูดคำแรกได้สิ่งควรระลึกคือ การที่เด็กจะหัดพูดได้หรือไม่นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการที่เด็กต้องทำตามคำสั่ง หรือคำขอร้องซึ่งพ่อแม่มักชอบใช้โดยไม่รู้ตัว เช่น “พูด…………..สิ” “พูด…………..ให้ถูกสิ” โดยเฉพาะคำที่พูดไม่ชัด นักแก้ไขการพูดรู้ดีว่าภาวะที่เหมาะในการหัดนั้นจะช่วยให้เด็กพูดได้ชัดได้ เช่นเดียวกับพ่อแม่สามารถสอนให้ลูกพูดคำแรกได้
3. ทฤษฎีเสริมกำลัง (Reinforcement Theory)ทฤษฎีนี้อาศัยจากหลังทฤษฎีของการเรียนรู้ ซึ่งถือว่าพฤติกรรมทั้งหลายถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยการวางเงื่อนไข ไรน์โกลด์ (Rheingold) พบว่าเด็กจะพูดมากขึ้นเมื่อให้รางวัลหรือเสริมกำลังเวสเบอร์ก ทอดด์ (Weissberg Todd ) ก็แสดงให้เห็นว่าการให้รางวัลทางสังคมทำให้เด็กอายุ 3 เดือน เปล่งเสียงมากขึ้น แต่พบว่าเฉพาะเสียงที่บ่งบอกความปิติยินดีไม่อาจทำให้เพิ่มการตอบสนองได้ เพราะเขาทดลองใช้เทปบันทึกเสียงแทนคน ปรากฏว่าไม่มีการตอบสนอง ตรงกันข้ามกับนกแก้วนกขุนทองที่สามารถวางเงื่อนไขด้วยจานเสียงหรือเทปก็ได้ เด็กนั้นต้องการตอบสนองจากผู้ใหญ่จริง ๆ วินิทซ์ (Winitz) ได้อธิบายถึงการที่เด็กเกิดการรับรู้ในระยะการเล่นเสียงตอนต้นๆ ว่าเป็นการกระทำตามธรรมชาติของมนุษย์ ในการที่จะมีจุดหมายปลายทาง ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กหิวก็เคลื่อนไหวปาก ซึ่งมีจุดหมายปลายทางที่การดูดและการกินอาหาร ต่อมาเมื่อโตขึ้นก็อาจใช้วิธีทำเสียงอ้อแอ้ โดยหวังว่าแม่จะเข้ามาหาและเล่นเสียงคุยตามไปด้วย ผู้ที่สังเกตเด็กอย่างใกล้ชิดจะพอมองได้ว่า เมื่อใดเด็กร้องเพราะหิว แต่ก็ยากที่จะแยกแยะให้ตายตัวลงไปว่า เด็กหวังจะได้อาหารหรือหวังจะได้อะไรจากผู้ใหญ่ วินิทซ์ ได้อธิบายขั้นที่สองของพัฒนาการทางภาษาในด้านการให้รางวัลทางอ้อมว่า มีบทบาทต่อพฤติกรรมของเด็ก กล่าวคือ เมื่อแม่ทำเสียงนำให้ลูกพร้อมกับการเอาอาหารมาให้ โดยเกือบจะพร้อมกันนั่นเอง เด็กจะหันศีรษะไปรับอาหาร และในขณะที่แม่เปล่งเสียงนั้นเด็กอาจทำกิริยาอย่างอื่นด้วย เช่น หันมามอง ยิ้ม จนบางครั้งแม้เมื่อไม่มีอาหารหากได้ยินเสียงแม่ ลูกก็จะมีพฤติกรรมเหมือนเดิม คือ หันศีรษะมาและยิ้มด้วยการที่เสียงพูดของเด็กคล้ายคลึงกับเสียงแม่มากนั้น เขาอธิบายว่าเป็นเพราะการได้รับการเสริมกำลังจากเสียงของแม่ แล้วเปลี่ยนมาเป็นเสียงของเด็กเอง การเปล่งเสียงของแม่นั้นมักเกิดขึ้นก่อนและต่อเนื่องกับการเลี้ยงดูทารก ฉะนั้นเด็กจึงเลียนวิธีการออกเสียงด้วยวิธีนี้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเสียงแม่ปรากฏควบคู่กับการให้อาหาร ซึ่งจัดเป็นการเสริมกำลังโดยตรงอยู่แล้ว ก็เท่ากับช่วยให้เด็กพูดมากขึ้น ดังนั้นเด็กที่มีเสียงพูดเหมือนพ่อแม่มากก็คือ เด็กที่ได้รับการเสริมกำลังมากกว่าเด็กคนอื่นนั่นเอง ยิ่งพ่อแม่ตอบสนองอย่างเต็มอกเต็มใจ และร่าเริง เมื่อเด็กพูด “แม่-แม่” มากกว่าเมื่อพูดคำที่ไร้ความหมาย แล้วพยางค์นั้นก็จะยิ่งปรากฏบ่อยในการพูดของเด็ก เมื่ออายุราวๆ 1 ปี การเปล่งเสียงพยางค์ก็คล้ายคลึงกับพยางค์ที่มีความหมาย เช่น มม มม และสังเกตเห็นว่าแม่กระวีกระวาดเอาน้ำหรือนมที่เด็กต้องการมาให้ ก็จะทำให้พยางค์นั้นปรากฏบ่อยยิ่งขึ้น วิธีการแบบนี้เองที่เป็นการหัดพูด ซึ่งจะทำให้เด็กพัฒนาการทางภาษาได้คล้ายคลึงกับการพูดของผู้ใหญ่
4. ทฤษฎีการรับรู้ (Motor Theory of Perception) ในบางครั้ง เด็กจะพูดคำที่ไม่เคยพูดหรือไม่เคยถูกสอนให้พูดมาก่อนเลย แม้แต่ในระยะเล่นเสียงก็มิได้เปล่งเสียงที่คล้ายคลึงกับคำนั้น จึงสงสัยว่าเด็กเรียนรู้ได้อย่างไร ทฤษฎีนี้ให้คำตอบในแง่นี้ คือลีเบอร์แมน (Liberman) ตั้งสมมุติฐานไว้ว่า การรับรู้ทางการฟังขึ้นอยู่กับการเปล่งเสียง จึงเห็นได้ว่า เด็กมักจ้องหน้าเวลาเราพูดด้วยทำนองเดียวกับเด็กหูตึง การทำเช่นนี้อาจเป็นเพราะเด็กฟัง พูดซ้ำด้วยตนเองหรือหัดเปล่งเสียงโดยอาศัยการอ่านริมฝีปากแล้วจึงเรียนรู้คำ